เข้าสู่ระบบ
| สมัครสมาชิก | ส่วนช่วยเหลือ | ชำระเงิน(บัตรเครดิต) | ตรวจสอบสถานะการจัดส่งใบเสร็จ | ติดตามเรา:

ข้อมูลงานศพ

หน้าแรก > งานศพ > งานศพสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

กำหนดการบำเพ็ญกุศล

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

     
 


 
 
วัดบวรนิเวศวิหาร ตำบลบวรนิเวศ กรุงเทพมหานคร
 
 
วันพุธที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2556
 
 
เวลา 10:00 น.
 
 
ถึง
 
 
วันพฤหัสที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2556
 
 
เวลา 10:00 น.
 
     
 


 
 
วัดบวรนิเวศวิหาร ตำบลบวรนิเวศ กรุงเทพมหานคร
 
 
วันพุธที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2556
 
 
ถึง
 
 
วันพฤหัสที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2556
 
 
เวลา น.
 
     
 


 
 
วัดบวรนิเวศวิหาร ตำบลบวรนิเวศ กรุงเทพมหานคร
 
 
วันพฤหัสที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2557
 
 
ถึง
 
 
วันศุกร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2557
 
 
เวลา น.
 
     
 

สวดพระอภิธรรม


 
 
วัดบวรนิเวศวิหาร ตำบลบวรนิเวศ กรุงเทพมหานคร
 
 
วันพุธที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2556
 
 
เวลา 19:00 น.
 
 
ถึง
 
 
วันศุกร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2557
 
 
เวลา 19:00 น.
 
 

จึงขอกราบเรียนและเรียนเชิญมาด้วยความเคารพ

 
 
 

จัดทำโดย มีสติ.com

<--- คุณแม่ดวงจินดา วงศาโรจน์...

คุณแม่อัมพร วาทิน... --->


แผนที่งานศพ

งานศพนี้ยังไม่มีแผนที่
  • งานศพ





    เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (สุวฑฺฒนมหาเถร) เป็นชาวจังหวัดกาญจนบุรี มีพระนามเดิมว่า เจริญ คชวัตร ประสูติเมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๖ เวลาประมาณ ๐๔.๐๐ น. เศษ (นับอย่างปัจจุบันเป็นวันที่ ๔ ตุลาคม) ตรงกับวันศุกร์ ขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีฉลู ณ ตำบลบ้านเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี พระชนกชื่อ นายน้อย คชวัตร พระชนนีชื่อ นางกิมน้อย คชวัตร

    บรรพชนของเจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ มีประวัติความเป็นมาน่าสนใจ เพราะมาจาก ๔ ทิศทาง กล่าวคือ พระชนกมีเชื้อสายมาจากกรุงเก่าทางหนึ่ง จากปักษ์ใต้ทางหนึ่ง ส่วนพระชนนีมี เชื้อสายมาจากญวนทางหนึ่ง จากจีนทางหนึ่ง



    นายน้อย คชวัตร เป็นบุตรนายเล็กและนางแดงอิ่ม เป็นหลานปู่หลานย่าของหลวงพิพิธภักดีและนางจีน หลวงพิพิธภักดีนั้นเป็นชาวกรุงเก่าเข้ามารับราชการในกรุงเทพ ฯ ได้ออกไปเป็นผู้ช่วยราชการอยู่ที่เมืองไชยาคราวหนึ่ง และเป็นผู้หนึ่ง ที่พระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ไปคุมเชลยศึก ที่เมืองพระตะบอง คราวหนึ่ง หลวงพิพิธภักดีได้ภรรยาเป็นชาวไชยา ๒ คนชื่อทับคนหนึ่ง ชื่อนุ่นคนหนึ่ง และได้ภรรยาเป็นชาวพุมเรียงอีกคนหนึ่งชื่อแต้ม ต่อมา เมื่อครั้งพวกแขกยกเข้าตีเมืองตรัง เมืองสงขลาของไทย เมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๑ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้พระยาศรีพิพัฒน์ (ทัด ซึ่งต่อมาได้เป็นที่ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ ในรัชกาลที่ ๔) เป็นแม่ทัพยกออกไปปราบปราม หลวงพิพิธภักดีได้ไปในราชการทัพครั้งนั้นด้วย และไปได้ภรรยาอีกหนึ่งชื่อจีน ซึ่งเป็นธิดาของพระปลัดเมืองตะกั่วทุ่ง (สน) เป็นหลานสาว ของพระตะกั่วทุ่ง หรือพระยาโลหภูมิพิสัย (ขุนดำ ชาวเมืองนครศรีธรรมราช) ต่อมา หลวงพิพิธภักดี ได้พาภรรยาชื่อจีนมาตั้งครอบครัวอยู่ในกรุงเทพ ฯ และได้รับภรรยาเดิมชื่อแต้ม จากพุมเรียงมาอยู่ด้วย (ส่วนภรรยาอีก ๒ คนได้ถึงแก่กรรมไปก่อน)

    เวลานั้น พี่ชายของหลวงพิพิธภักดี คือพระยาพิชัยสงคราม เป็นเจ้าเมืองศรีสวัสดิ์กาญจนบุรี และมีอาชื่อ พระยาประสิทธิสงคราม (ขำ) เป็นเจ้าเมืองกาญจนบุรี ต่อมาหลวงพิพิธภักดีลาออก จากราชการและได้พาภรรยาทั้ง ๒ คนมาตั้งครอบครัวอยู่ที่เมืองกาญจนบุรี

    กล่าวกันว่า หลวงพิพิธภักดีนั้นเป็นคนดุ เมื่อเป็นผู้ช่วยราชการอยู่ที่เมืองไชยา เคยเฆี่ยนนักโทษตายทั้งคา เป็นเหตุให้หลวงพิพิธภักดีเกิดสลดใจลาออกจากราชการ แต่บางคนเล่าว่า เหตุที่ทำให้หลวงพิพิธภักดีต้องลาออกจากราชการนั้น ก็เพราะเกิดความเรื่องที่ได้ธิดา พระปลัดเมืองตะกั่วทุ่ง ชื่อจีนมาเป็นภรรยานั่นเอง

    เมื่อพี่ชายคือพระพิชัยสงคราม ทราบว่าหลวงพิพิธภักดีอพยพครอบครัวมาอยู่ที่เมือง กาญจนบุรี ก็ได้ชักชวนให้ เข้ารับราชการอีก แต่หลวงพิพิธภักดีไม่สมัครใจ และ ได้ทำนาเลี้ยงชีพต่อมา

    นายน้อย คชวัตร ได้เรียนหนังสือตลอดจนได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ๒ พรรษาอยู่ในสำนักของ พระครูสิงคบุรคณาจารย์ (สุด) เจ้าอาวาสวัดเทวสังฆาราม (วัดเหนือ) ซึ่งเป็นวัดใกล้บ้านพระครูสิงคบุรคณาจารย์ นั้น เป็นบุตรคนเล็กของหลวงพิพิธภักดีกับนางจีน เป็นอาคนเล็กของนายน้อย เมื่อลาสิกขาแล้ว นายน้อยได้เข้ารับราชการ เป็นเสมียนสังกัดกระทรวงมหาดไทย ที่เมืองกาญจนบุรี และได้แต่งงานกับนางกิมน้อยในเวลาต่อมา



    นางกิมน้อย มาจากบรรพชนสายญวนและจีน บรรพชนสายญวนนั้นได้อพยพเข้ามา เมืองไทยในสมัยรัชกาลที่ ๓ เมื่อครั้งเจ้าพระยาบดินเดชา (สิงห์ ต้นตระกูลสิงหเสนี) ยกทัพ ไปปราบจราจลเมืองญวน ได้ครอบครัวญวนส่งเข้ามาถวาย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้พวกญวนที่นับถือพระพุทธศาสนาไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ กาญจนบุรี เมื่อปลายปี พ.ศ. ๒๓๗๒ เพื่อทำหน้าที่รักษาป้อมเมือง ส่วนพวกญวนที่นับถือศาสนาคริสต์ให้ไป ตั้งบ้านเรือน อยู่กับพวกญวนเข้ารีดที่เมืองสามเสนในกรุงเทพ ฯ บรรพชนสายญวนของนางกิมน้อย เป็นพวกญวนที่เรียกว่า “ญวนครัว”

    ส่วนบรรพชนสายจีนนั้น ได้โดยสารสำเภามาจากเมืองจีน และได้ไปตั้งถิ่นฐานทำการค้า อยู่ที่กาญจนบุรี

    นางกิมน้อยเป็นบุตรีนายทองคำ (สายญวน) กับนางเฮงเล็ก แซ่ตัน (สายจีน) เกิดที่ ตำบลบ้านเหนือ อำเภอเมือง กาญจนบุรี เมื่อแต่งงานกับนายน้อยแล้ว ได้ใช้ชื่อว่าแดงแก้ว แต่ต่อมาก็กลับไปใช้ชื่อเดิม คือกิมน้อย หรือน้อยตลอดมา

    นายน้อย คชวัตร เริ่มรับราชการในตำแหน่งเสมียน แล้วเลื่อนขึ้นเป็นผู้รั้งปลัดขวาแต่ต้องออก จากราชการเสียคราวหนึ่ง เพราะป่วยหนัก หลังจากหายป่วยแล้วจึงกลับเข้ารับราชการใหม่ เป็นปลัดขวาอำเภอวังขนาย กาญจนบุรี ต่อมาได้ย้ายไปเป็นปลัดอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม เกิดป่วยเป็นโรคเนื้อร้ายงอก จึงกลับมารักษาตัวที่ บ้านกาญจนบุรีและได้ถึงแก่กรรมเมื่อมีอายุเพียง ๓๘ ปี ได้ทิ้งบุตรน้อย ๆ ให้ภรรยาเลี้ยงดู ๓ คน คือ

    ๑. เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ คชวัตร)
    ๒. นายจำเนียร คชวัตร
    ๓. นายสมุทร คชวัตร (ถึงแก่กรรมแล้ว)

    สำหรับเจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ นั้น ป้าเฮง ผู้เป็นที่สาวของนางกิมน้อย ได้ขอมาเลี้ยงตั้งแต่ ยังทรงพระเยาว์ และทรงอยู่ในความเลี้ยงดูของป้าเฮงมาตลอดจนกระทั่ง ทรงบรรพชาเป็นสามเณร ป้าเฮ้งได้เลี้ยงดูเจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ด้วยความถนุถนอมเอาใจเป็นอย่างยิ่งจนพากันเป็นห่วงว่า จะทำให้เสียเด็ก เพราะเลี้ยงแบบตามใจเกินไป

    ชีวิตในปฐมวัยของเจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ นับว่าเป็นสุขและอบอุ่น เพราะมีป้าคอยดูแล เอาใจใส่อย่างถนุถนอม ส่วนที่นับว่าเป็นทุกข์ของชีวิตในวัยนี้ก็คือ ความเจ็บป่วยออดแอดของร่างกาย ในเยาว์วัยเจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ทรงเจ็บป่วยออดแอดอยู่เสมอ จนคราวหนึ่งทรงป่วยหนักถึงกับ ญาติ ๆ พากันคิดว่าคงจะไม่รอดและบนว่าถ้า หายป่วยจะให้บวชแก้บน เรื่องนี้นับเป็นเหตุหนึ่ง ที่ทำให้เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ทรงบรรพชาเป็นสามเณรในเวลาต่อมา

    พระนิสัยของเจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ เมื่อเยาว์วัยนั้น อาจกล่าวได้ว่าเป็นบุพพนิมิตหรือเป็นสิ่ง แสดงถึงวิถีชีวิต ในอนาคตของพระองค์ได้อย่างหนึ่ง กล่าวคือ เมื่อทรงพระเยาว์พระนิสัยที่ทรงแสดง ออกอยู่เสมอได้แก่การชอบเล่นเป็นพระ หรือเล่นเกี่ยวกับ การประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เช่น เล่นสร้างถ้ำก่อเจดีย์ เล่นทอดผ้าป่าทอดกฐิน เล่นทิ้งกระจาด แม้ของเล่นก็ชอบทำของเล่นที่เกี่ยวกับพระ เช่น ทำคัมภีร์เทศน์เล็ก ๆ ตาลปัตรเล็ก ๆ (คือพัดยศเล็ก ๆ)

    พระนิสัยที่แปลกอีกอย่างหนึ่งของเจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ เมื่อเยาว์วัยคือ ทรงชอบเล่นเทียน เนื่องจาก ป้าต้องออกไปทำงานตั้งแต่ยังไม่สว่าง เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ จึงต้องพลอยตื่นแต่ดึกตาม ป้าด้วยแล้วไม่ยอมนอนต่อ ป้าจึงต้องหาของให้เล่น คือหาเทียนไว้ให้จุดเล่น เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ก็จะจุดเทียนเล่นและนั่งดูเทียนเล่นอยู่คนเดียวจนสว่าง

    พระนิสัยในทางไม่ดีก็ทรงมีบ้างเช่นเดียวกับเด็กทั่วไป ดังที่ทรงเคยเล่าว่า เมื่อเยาว์วัยก็ทรงชอบเลี้ยงปลากัด ชนไก่ และบางครั้งก็ทรงหัดดื่มสุรา ดื่มกระแช่ไปตามเพื่อน แต่พระนิสัยในทางนี้มีไม่มากถึงกับจะทำให้กลายเป็นเด็กเกเร

    เมื่อพระชนมายุได้ ๘ ขวบ เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ จึงเริ่มเข้าโรงเรียน คือโรงเรียนประชาบาล วัดเทวสังฆาราม ซึ่งใช้ศาลาวัดเป็นโรงเรียน จนจบชั้นประถม ๓ เท่ากับจบชั้นประถม ศึกษาในครั้งนั้น หากจะเรียนต่อชั้นมัธยมจะต้องย้ายไปเรียนที่โรงเรียน มัธยมวัดชัยชุมพลชนะสงคราม (วัดใต้) ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำจังหวัด สุดท้ายทรงตัดสินพระทัย เรียนต่อชั้นประถม ๔ ซึ่งจะเปิดสอนต่อไปที่โรงเรียนวัดเทวสังฆารามนั้น แล้วก็จะเปิดชั้นประถม ๕ ต่อไปด้วย (เทียบเท่า ม.๑ และ ม.๒ แต่ไม่มีเรียนภาษาอังกฤษ) ในระหว่างเป็นนักเรียน ทรงสมัครเป็นอนุกาชาดและลูกเสือ ทรงสอบได้เป็นลูกเสือเอก ทรงจบการศึกษาชั้นประถม ๕ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๘ พระชนมายุ ๑๒ พรรษา

    หลังจากจบชั้นประถม ๕ แล้ว ทรงรู้สึกว่ามาถึงทางตัน ไม่รู้ว่าจะเรียนอะไรต่อและไม่รู้ว่า จะไปเรียนที่ไหน เพราะขาดผู้นำครอบครัวที่จะเป็นผู้ช่วยคิดช่วยแนะนำตัดสินใจทรงเล่าว่า เมื่อเยาว์วัยทรงมีพระอัธยาศัยค่อนข้างขลาด กลัวต่อคนแปลกหน้า และค่อนข้างจะเป็นคนติดป้าที่อยู่ ใกล้ชิดกันมาแต่ทรงพระเยาว์โดยไม่เคยแยกจากกันเลย จึงทำให้พระองค์ไม่กล้าตัดสิน พระทัยไปเรียนต่อที่อื่น



    บรรพชาอุปสมบท
    ในปีรุ่งขึ้นคือ พ.ศ. ๒๔๖๙ น้าชาย ๒ คนจะบวชเป็นพระภิกษุที่วัดเทวสังฆาราม พระชนนีและป้าจึงชักชวน เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ซึ่งขณะนั้นพระชนมายุย่าง ๑๔ พรรษา ให้บวช เป็นสามเณรแก้บนที่ค้างมาหลายปีแล้วให้เสร็จเสียที เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ จึงตกลงพระทัย บวชเป็นสามเณรที่วัด เทวสังฆารามในปีนั้น โดยพระครูอดุลยสมณกิจ (ดี พุทธโชติ) เจ้าอาวาสวัดเทวสังฆาราม ซึ่งเรียกกันว่า “หลวงพ่อวัดเหนือ” เป็นพระอุปัชณาย์ (สุดท้าย ได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็น พระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพมงคลรังษี) พระครูนิวิฐสมาจาร (เหรียญ สุวณณโชติ) เจ้าอาวาสสวัดศรีอุปลาราม ซึ่งเรียกกันว่า “หลวงพ่อวัดหนองบัว” เป็นพระอาจารย์ ให้สรณะและศีล

    ก่อนที่จะทรงบรรพชาเป็นสามเณร เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ไม่เคยอยู่วัดมาก่อน เพียงแต่ไปเรียนหนังสือที่วัด จึงไม่ทรงคุ้นเคยกับพระรูปใดในวัด แม้หลวงพ่อวัดเหนือผู้เป็น พระอุปัชณาย์ของพระองค์ก็ไม่ทรงคุ้นเคยมาก่อน ความรู้ความสนใจเกี่ยวกับเรื่องวัด ก็ไม่เคยมีมาก่อนเช่นกัน นอกจากการไปวัดในงานเทศกาล การไปทำบุญที่วัดกับป้า และเป็น เพื่อนป้าไปฟังเทศน์เวลากลางคืนในเทศกาลเข้าพรรษาซึ่งที่วัดเหนือมีเทศน์ทุกคืนตลอด พรรษา ทรงเล่าว่า ถ้าพระเทศน์เรื่องชาดก ก็รู้สึกฟังสนุก เมื่อถึงเวลาเทศน์ก็มักจะเร่งป้าให้รีบไปฟัง แต่ถ้าพระเทศน์ธรรมะก็ทรงรู้สึกว่าไม่รู้เรื่อง และเร่งป้าให้กลับบ้าน กล่าวได้ว่า เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ เมื่อทรงพระเยาว์นั้นแทบจะไม่เคยห่างจากอกของป้าเลย ยกเว้นการไปแรมคืนในเวลา เป็นลูกเสือบ้างเท่านั้น ในคืนวันสุดท้ายก่อนที่จะทรงบรรพชาเป็นสามเณรนั้น ป้าพูดว่า “คืนนี้เป็นคืนสุดท้ายที่จะอยู่ด้วยกัน” ซึ่งก็เป็นความจริง เพราะหลังจากทรงบรรพชาเป็นสามเณรแล้ว ก็ไม่ทรงมีโอกาส กลับไปอยู่ในอ้อมอกของป้าอีกเลยจนกระทั่งป้าเฮง ถึงแก่ กรรมเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๗

    กล่าวได้ว่า ชีวิตพรหมจรรย์ของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ นั้นเริ่มต้นจากการบวชแก้บน เมื่อทรงบรรพชาแล้ว ก็ทรง อยู่ในความปกครองของหลวงพ่อวัดเหนือ และทรงเริ่มคุ้นเคย กับหลวงพ่อมากขึ้นเป็นลำดับ

    พรรษาแรกแห่งชีวิตพรหมจรรย์ ณ วัดเทวสังฆาราม เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ยังไม่ได้เล่าเรียนอะไร มีแต่ท่อง สามเณรสิกขา (คือข้อ พึงปฏิบัติสำหรับสามเณร) และ ท่องบททำวัตรสวดมนต์เท่านั้น ส่วนกิจวัตร ก็คือการปฏิบัติรับ ใช้หลวงพ่อ ผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ มีสิ่งหนึ่งที่หลวงพ่อสอน ในระหว่างที่ทำ อุปัชฌาย์วัตร (คือการปฏิบัติรับ ใช้พระอุปัชฌาย์) ก็คือ การต่อเทศน์ แบบที่เรียกกันว่า ต่อหนังสือค่ำ อันเป็นวิธีการ เรียนการ สอนอย่างหนึ่งในสมัยโบราณ กล่าวคือ เมื่อเข้าไปทำ อุปัชฌาย์วัตรในตอนค่ำ มีการบีบนวดเป็นต้น หลวงพ่อ ก็จะอ่าน เทศน์ให้ฟังคืนละตอน แล้วท่องจำตามคำ อ่านของท่าน ทำต่อเนื่องกันไปทุกคืนจนจำได้ทั้งกัณฑ์ กัณฑ์เทศน์ที่หลวงพ่อ ต่อให้คือ เรื่องอริยทรัพย์ ๗ ประการ เมื่อทรงจำได้คล่องแล้ว หลวงพ่อก็ให้ขึ้นเทศน์ปากเปล่า ให้ญาติโยมฟัง ในโบสถ์คืนวัน พระวันหนึ่งในพรรษานั้น หลังจากเทศน์ ให้ญาติโยมฟังแล้ว เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ยังทรงบันทึกเทศน์ กัณฑ์นี้ ไว้ในสมุดบันทึกส่วนพระองค์ด้วย



    ครั้นออกพรรษาแล้ว ก็ยังเพลินอยู่ในชีวิตพรหมจรรย์ หลวงพ่อจึงชักชวนให้ไปเรียนภาษาบาลี คือเรียนพระปริยัติธรรมที่วัดเสน่หา ในจังหวัดนครปฐม หลวงพ่อบอกว่า “เพื่อว่าต่อไปจะ ได้กลับมาสอนที่วัดเทวสังฆาราม และจะสร้างโรงเรียน พระปริยัติธรรมเตรียมไว้ให้” เมื่อสามเณร และญาติโยมยินยอม หลวงพ่อจึงได้พาเจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ไปฝากไว้กับพระครูสังวรวินัย (อาจ) เจ้าอาวาสวัดเสน่หา เมือวันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๗๐ เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ จึงได้เริ่มเรียนบาลี ไวยากรณ์ที่วัดเสน่หา ในพรรษาศกนั้น โดยมีพระเปรียญจากวัดมกุฎกษัตริยาราม กรุงเทพ ฯ ไปเป็นอาจารย์สอน เมื่อออกพรรษาแล้ว อาจารย์สอนภาษาบาลีที่วัดเสน่หาเห็นแววของเจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ว่าจะเจริญก้าวหน้าในทางการศึกษาต่อไป จึงชักชวนให้เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ไปอยู่วัดมกุฎกษัตริยาราม เพื่อจักได้เล่าเรียนได้สูง ๆ ยิ่งขึ้นไป และอาจารย์ท่านนั้นก็ได้ติดต่อทางวัดมกุฎกษัตริย์ไว้ให้เรียบร้อยแล้วด้วย แต่เมื่อเจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ นำเรื่องนี้ไปปรึกษาหลวงพ่อที่วัดเหนือ หลวงพ่อไม่เห็นด้วย เพราะหลวงพ่อคิดไว้ว่าจะพา เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ไปฝากไว้ที่วัด บวรนิเวศวิหารอยู่แล้ว จึงเป็นอันยกเลิกที่จะไปอยู่วัดมกุฎกษัตริย์ เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ จึงอยู่ จำพรรษาเรียนบาลีต่อไปที่วัดเสน่หาอีกหนึ่งพรรษา

    พ.ศ.๒๔๗๒ หลังออกพรรษาแล้ว เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ได้กลับไปพัก ณ วัดเทวสังฆาราม ชั่วระยะเวลาหนึ่ง เพื่อเตรียมตัวเข้าไปอยู่กรุงเทพ ฯ

    วันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๗๒ หลวงพ่อวัดเหนือได้พาเจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ โดยสารรถไฟ จากกาญจนบุรี มากรุงเทพ ฯ แล้วพาไปยังวัดบวรนิเวศวิหาร แล้วนำเจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ขึ้นเฝ้าถวาย ตัวต่อสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ซึ่งขณะนั้นทรงดำรงสมณศักดิ์ที่สมเด็จ พระวชิรญาณวงศ์ เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร เพื่ออยู่ศึกษาพระปริยัติธรรมในสำนักวัดบวรนิเวศ วิหารต่อไป สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ฯ ได้ทรงพระเมตตารับไว้ และทรงมอบให้อยู่ในความปกครองของพระครูพุทธมนต์ปรีชา (เฉลิม โรจนศิริ ภายหลังลาสิกขา) หลังจากทรงเข้ามาอยู่วัดบวรนิเวศวิหาร ได้ไม่นาน ทรงปฏิบัติตามกฎกติกาของวัดครบถ้วนแล้ว ก็ทรงได้รับประทานนามฉายาจากสมเด็จพระสังฆราช เจ้า ฯ ว่า “สุวฑฒโน” ซึ่งมีความหมายว่า “ผู้เจริญดี”

    เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ได้ทรงบันทึกเล่าเหตุการณ์เกี่ยวกับการเข้ามาอยู่วัดบวรนิเวศวิหาร ของพระองค์ไว้อย่างน่าสนใจยิ่ง บันทึกของพระองค์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า พระองค์ประสบ ความสำเร็จในช่วงต้นของชีวิตพรหมจรรย์และการศึกษาก็เพราะทรงได้พระอาจารย์และผู้ปกครองที่ดี พระอาจารย์ของพระองค์ในช่วงนี้ก็คือ พระครูพุทธมนต์ปรีชา (เฉลิม) ส่วนผู้ปกครองของพระองค์ ในช่วงนี้ก็คือ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ดังที่ทรงกล่าวถึงท่านทั้งสองไว้ว่า พระครูพุทธมนต์ปรีชา เป็นผู้มีกิริยาวาจาอ่อนหวาน ใจแข็ง รู้จักกาละเทศะ รู้จักการควรไม่ควร มีเชาว์ไวไหวพริบ มีคารวะต่อผู้ใหญ่ ไม่ตีตัวเสมอแม้กับผู้ใหญ่ที่คุ้นเคยเป็นกันเอง รู้จักพูดให้ผู้ใหญ่เชื่อ เมื่อถึงคราวต้องเป็นหัวหน้าจัดการงาน วางตนเป็นผู้ใหญ่เต็มที่สมแก่ฐานะมีความสามารถ ในการจัดการงานให้สำเร็จ ฉลาดในการปฏิสันถารในการทำงาน จะไม่ปล่อยให้ศิษย์ทำในสิ่งที่ ไม่แน่ใจว่าศิษย์จะทำได้ดี เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น กับศิษย์ของตน แนะนำสั่งสอน ศิษย์ให้รู้จักวางตัวให้พอเหมาะ ยกย่องศิษย์ให้เป็นที่ปรากฏในหมู่เพื่อนฝูง กล่าวโดยสรุปก็คือ เป็นผู้มีน้ำใจและมีสัปปุริสธรรม ควรเอาเป็นแบบอย่างในทางดีได้

    ส่วนสมเด็จพระสังฆราชเจ้า ฯ นั้น ทรงมีพระเมตตาต่อภิกษุสามเณรทั่วไป โดยเฉพาะสามเณร ที่มาจากบ้านนอกดูจะมีพระเมตตาเป็นพิเศษ สามเณรทุกรูปจะต้องถูกจัดเวรอยู่ ปฏิบัติถวายงานสมเด็จพระสังฆราชเจ้า ฯ สับเปลี่ยนกันไปทุกวัน สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ฯ ทรงมีวิธีที่จะฝึกสอนสามเณรให้มีความรู้ความฉลาดในเรื่องต่าง ๆ ด้วยพระเมตตาเสมอ เช่น ทรงฝึกให้สามเณรอ่านหนังสือพิมพ์ หากสามเณรรูปใดอ่านไม่คล่องหรือไม่ถูก ก็จะทรงอ่าน ให้ฟังเสียเอง ทรงฝึกให้สามเณรหัดคิด หัดสังเกต และหัดทำสิ่งต่าง ๆ ที่จะเป็นการฝึกความเฉลียวฉลาด หากสามเณรทำผิดหรือทำไม่ถูก พระองค์ก็จะทรงทำให้ดูเป็นตัวอย่าง เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ก็ทรงถูกฝึกในลักษณะดังกล่าวนี้อยู่บ่อย ๆ เช่นทรง เล่าว่า ครั้งหนึ่ง สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ฯ รับสั่งให้เอากระดาษทำลองข้างในขวด แต่เจ้าพระคุณ สมเด็จ ฯ ไม่เข้าพระทัย เอากระดาษไปรองก้นขวด พอทอดพระเนตรเห็นเข้าก็รับสั่งว่า “เณรนี่ก็โง่เหมือนกัน” แล้วก็ทรงทำให้ดู จากการแนะนำสั่งสอนและการปฏิบัติพระองค์และปฏิบัติตนให้เห็นเป็นตัวอย่างของ พระอาจารย์ทั้งสองท่านดังกล่าวแล้ว ทำให้เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ รู้จักคิดรู้จักสังเกตและจดจำ เอามาเป็นเยี่ยงอย่างในการพัฒนาพระองค์เอง



    การศึกษา
    ในปีแรกที่เข้ามาอยู่วัดบวรนิเวศวิหาร เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ก็ทรงสอบได้นักธรรมชั้นตรี พ.ศ.๒๔๗๓ ทรงสอบได้นักธรรมชั้นโท และเปรียญธรรม ๓ ประโยค พระองค์ทรงบันทึก เกี่ยวกับความรู้สึก เมื่อทรงสอบเปรียญธรรม ๓ ประโยคได้ว่า “ไม่มีปีใดที่ให้ความสุขกาย สุขใจมากเท่ากับคราวที่สอบ ป.ธ.๓ ได้”

    พ.ศ.๒๔๗๔ ทรงตั้งใจเรียนประโยค ๔ ด้วยความมุ่งหวังอย่างสูง พร้อมทั้งทรงเตรียมประโยคเก็ง หรือว่าเก็งข้อสอบที่คาดว่าน่าจะออกไว้ด้วยความมั่นใจ เมื่อถึงคราวสอบกลับปรากฏว่า ข้อสอบไม่ได้ออกประโยคเก็งหรือประโยคยาก ๆ ที่ทรงเตรียมไว้ แต่กลับออกประโยคง่าย ๆ ที่ไม่ได้สนใจเตรียม แต่ก็ทรงรู้สึกว่าข้อสอบง่ยมาก ทำไปด้วยความมั่นพระทัยแต่ผลสอบปรากฏว่า พระองค์สอบตกประโยค ๔ ได้ทรงบันทึกถึงความรู้สึกเมื่อทรงสอบตก คราวนั้นไว้ว่า ทรงรู้สึกเสียใจและท้อแท้ใจมาก ถึงกับทรงคิดว่า พระองค์คงจะหมดวาสนาในทางพระศาสนาเสียแล้ว เพราะมานะพยายามและตั้งใจขนาดนี้ยังสอบตก แต่หลังจากทรงคิดทบทวนและไตร่ตรองดูว่าทำไม พระองค์จึงสอบตก ก็ทรงได้พบความจริงด้วยพระองค์เองว่า การสอบตกนั้นเป็นผลของความประมาทโดยแท้ กล่าวคือ

    ประการแรก ทรงพบว่าพระองค์ทรงหยิ่งทนงในความรู้ของตนเองมากเกินไป จนทำให้เห็นไปว่าทำอย่างไร ก็สอบได้แน่ เมื่อถึงเวลาสอบจึงทำข้อสอบด้วยความหละหลวม ไม่พิจารณาให้รอบคอบ ด้วยสำคัญผิดว่าตนรู้ดีแล้ว จึงทำข้อสอบผิดพลาดมาก ถึงกับได้คะแนนสูญ

    ประการที่สอง ทรงพบว่าพระองค์ทรงอยู่ในความประมาท ที่ไม่ดูตำรับตำราให้ทั่วถึงมุ่งดูแต่เฉพาะที่เห็นว่ายากและคาดคะเนหรือเก็งว่าจะออกเป็นข้อสอบเท่านั้น เมื่อข้อสอบ ออกไม่ตรงตามที่เก็งไว้ จึงทำข้อสอบผิด พลาดโดยไม่รู้ตัวว่าทำผิด

    ประการที่สาม ทำให้ทรงเห็นว่า การเรียนแบบสนใจเรียนหรือสนใจดูเฉพาะที่เก็งว่าจะออกสอบ เท่านั้น ไม่ใช่วิธีการเรียนที่ถูกต้อง เพราะไม่ทำให้เกิดความรู้อย่างแท้จริง และเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้พระองค์สอบตก

    พ.ศ.๒๔๗๕ ทรงเรียนซ้ำประโยค ๔ อีกครั้ง และทรงเตรียมสอบนักธรรมชั้นเอกด้วยและ ในปีนี้ทรง เลิกวิธีการเรียนแบบเก็งข้อสอบ แต่ทรงเรียนแบบสม่ำเสมอและทั่วถึง ผลการสอบปรากฏว่าสอบได้ทั้งนักธรรม ชั้นเอกและเปรียญธรรม ๔ ประโยค

    กล่าวได้ว่า ชีวิตในปฐมวัยของเจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ นั้นดำเนินไปด้วยความราบรื่นประสบความ สำเร็จ โดยมีปัจจัยแวดล้อมเป็นตัวเสริมที่สำคัญ คือ ผู้ปกครองและครูอาจารย์ที่ดี ที่คอยให้คำแนะนำ และชักนำไปในทางที่ดี ประกอบกับในส่วนพระองค์เองก็ทรงมีพื้นอัธยาศัย ที่ดีคือมีพระอัธยาศัยโน้มเอียงไปในทางพระศาสนาเป็นทุนอยู่แล้ว การชี้นำของผู้ปกครอง และผู้ที่เกี่ยวข้องจึงช่วย ส่งให้พระองค์ดำเนินไปในทิศทาง ที่ถูกต้องตรงตามพื้นเพของพระอัธยาสัย เป็นเหตุให้พระองค์ ประสบความสำเร็จในชีวิตวัยเด็ก

    สรุปได้ว่า ชีวิตในปฐมวัยของเจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ในฐานะที่ทรงดำเนินชีวิตในเพศพรหมจรรย์นั้น ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี ปัจจัยสำคัญที่ทำให้พระองค์ประสบความสำเร็จในวัยนี้ มีทั้งปัจจัย ภายนอกคือบุคคลแวดล้อม และปัจจัยภายในคือพระอัธยาศัยและคุณสมบัติส่วน พระองค์เองประกอบกัน

    พ.ศ.๒๔๗๖ เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ทรงมีพระชนมายุครบอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ทรงกลับ ไปอุปสมบท ณ วัดเทวสังฆาราม กาญจนบุรี สำนักเดิมของพระองค์เมื่อครั้งทรงบรรพชาเป็นสามเณร ทั้งนี้ก็เพื่ออยู่ช่วยสอน พระปริยัติธรรมสนองพระคุณของหลวงพ่อ ตามคำที่หลวงพ่อเคย พูดไว้เมื่อ ก่อนที่ จะนำพระองค์มาฝากให้อยู่เรียน ภาษาบาลีที่วัดเสน่หาเป็นครั้งแรกว่า เพื่อจะได้กลับมาสอนที่วัดเทวสังฆารามแล้วจะสร้างโรงเรียนเตรียมไว้ให้ และก็ปรากฏว่า หลวงพ่อได้ทำอย่าง ที่ท่านพูดไว้ จริง ๆ คือท่านได้สร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรมขึ้นหลังหนึ่ง ชื่อว่า โรงเรียนเทวานุกูล เป็นตึกคอนกรีต ๒ ชั้น เตรียมไว้ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๗๓

    เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดเทวสังฆาราม เมื่อวันที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๗๖ โดยพระครูอดุลยสมณกิจ (หลวงพ่อวัดเหนือ) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูนิวิฐสมาจาร (หลวงพ่อวัดหนองบัว) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระปลัดหรุง เจ้าอาวาสวัดทุ่งสมอ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่อทรงอุปสมบทแล้ว ได้อยู่จำพรรษา ณ วัดเทวสังฆารามนั้น เพื่อช่วยหลวงพ่อสอนพระปริยัติธรรม ตามความมุ่งหมายของท่าน ๑ พรรษา

    ครั้นออกพรรษาแล้ว เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ได้กลับมาอยู่วัดบวรนิเวศวิหารตามเดิมและได้ทรง ทำญัตติกรรม คืออุปสมบทซ้ำเป็นธรรมยุติที่วัดบวรนิเวศวิหารอีกครั้งหนึ่ง เมื่อวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๗๖ ศกเดียวกัน (สมัยนั้นขึ้น พ.ศ. ใหม่เดือนเมษายน ฉะนั้น เดือนมิถุนายน จึงเป็นต้นปี เดือนกุมภาพันธ์ เป็นปลายปี) โดยสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ขณะทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ พระรัตนธัชชมุนี (จู อิสสรญาโณ) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ทั้งนี้เพื่อทรงศึกษาพระปริยัติธรรมต่อไป และในปี พ.ศ.๒๔๗๖ นี้ ทรงสอบได้เปรียญธรรม ๕ ประโยค



    แม้จะกลับมาอยู่วัดบวรนิเวศวิหารแล้ว เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ก็ยังทรงเวียนไปมาช่วย สอนพระปริยัติธรรม ที่วัดเทวสังฆาราม กาญจนบุรี สนองพระคุณหลวงพ่อต่อเนื่องกันมาอีก ๒ ปี ส่วนการศึกษาพระปริยัติธรรม ของพระองค์ก็เจริญก้าวไปหน้าไปตามลำดับ กล่าวคือ

    พ.ศ.๒๔๗๗ ทรงสอบได้เปรียญธรรม ๖ ประโยค
    พ.ศ.๒๔๗๘ ทรงสอบได้เปรียญธรรม ๗ ประโยค
    พ.ศ.๒๔๘๑ ทรงสอบได้เปรียญธรรม ๘ ประโยค
    พ.ศ.๒๔๘๔ ทรงสอบได้เปรียญธรรม ๙ ประโยค

    เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ทรงเป็นผู้ใคร่ในการศึกษา หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือทรงมีพระ อัธยาศัยใฝ่รู้ โดยเฉพาะในด้านภาษา เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๕ ได้มีนักบวชฮินดูท่านหนึ่งเข้ามาศึกษา และส่งเสริมความสัมพันธ์ ทางวัฒนธรรมระหว่างประเทศไทยกับอินเดีย นักบวชท่านนี้คือ สวามี สัตยานันทปุรี ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้าน ศาสนาและปรัชญาของอินเดีย รวมทั้งเชี่ยวชาญทางภาษา สันสกฤษและภาษาอังกฤษด้วย ท่านสวามีได้ตั้ง ธรรมาศรม ขึ้น ณ ตึกหอสมุดมหามกุฎราชวิทยาลัย ซึ่งตั้งอยู่ที่ถนนพระสุเมรุ หน้าวัดบวรนิเวศวิหาร มีการออกนิตยสารชื่อ เสียงตะวันออก ซึ่งมีทั้ง ภาค ภาษาอังกฤษและภาคภาษาไทย มีการจัดสนทนาธรรมทุกวันอาทิตย์ รวมทั้งมีการสอนภาษา สันสกฤต และภาษาอังกฤษแก่ภิกษุสามเณรและผู้สนใจด้วย กล่าวได้ว่า สำนักธรรมาศรมของสวามี สัตยานันทปุรีดังกล่าว ได้เป็นศูนย์กลางสำหรับการสังสรรเสวนาของหมู่นักปราชญ์ราชบัณฑิต ของไทยในครั้งนั้น ท่าน สวามีได้พำนักอยู่ใน ประเทศไทยราว ๑๐ ปีกระทั่งเสียชีวิตในระหว่าง สงครามโลกครั้งที่ ๒ เมื่อ พ.ศ.๒๔๘๕ เนื่องจากเครื่องบินตก ขณะมีอายุได้เพียง ๔๐ ปี อาจกล่าวได้ว่า สวามี สัตยานันทปุรี ได้เป็นก่อให้เกิดความตื่นตัวในการศึกษาปรัชญาและศาสนาขึ้นในหมู่ผู้รู้ของไทย พร้อมทั้งได้ประพันธ์หนังสือเกี่ยวกับปรัชญาและศาสนาตะวันออกเป็นภาษาไทยไว้หลายเล่ม

    ในระหว่าง พ.ศ.๒๔๗๗-๗๘ นั้นเอง เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ซึ่งทรงเป็นพระเปรียญ ๖-๗ ประโยค พร้อมทั้งพระเปรียญหนุ่มอื่น ๆ อีกหลายรูป ได้เรียนภาษาสันสกฤตและภาษาอังกฤษกับสวามี สัตยานันทปุรี แต่การเรียนของเจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ไม่ค่อยสะดวกนักเพราะทรงมีภาระต้อง เป็นครูสอนนักธรรมบ้าง สอนบาลีบ้าง ในสำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร จึงทรงเรียน ได้เฉพาะวันที่มีเวลาว่างเท่านั้น ทรงเรียนอยู่ราว ๒ ปี ก็ต้องเลิกไป เพราะทรงมีภารกิจด้านต่าง ๆ มากขึ้น แต่การเรียนกับสวามี สัตยานันทปุรี ได้เป็นพื้นฐานให้พระองค์ทรงศึกษา ด้วยพระองค์ต่อไป วิธีการเรียนภาษาอังกฤษด้วยพระองค์เอง ก็คือการอ่านหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษ ฟังวิทยุ ภาคภาษาอังกฤษของบีบีซี และอ่านหนังสือเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาภาษาอังกฤษ โดยเฉพาะหนังสือเกี่ยวกับพระพุทธศาสนานั้น หากมีข้อความใดสำคัญหรือทรงประทับใจ ก็จะทรงจดจำไว้สำหรับเป็นแบบอย่างหรือนำมาใช้ในเวลาต้องการ ด้วยวิธีการทรงศึกษา ด้วยพระองค์เองอย่างต่อเนื่องนี้เอง ทำให้พระองค์สามารถใช้ประโยชน์จากภาษาอังกฤษได้ดีทั้งการพูด การอ่านและการเขียน ความรู้ภาษาอังกฤษนับว่ามีประโยชน์ต่อการปฏิบัติภารกิจของพระองค์ ในเวลาต่อมาเป็นอย่างมาก

    ต่อมาเจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ยังสนพระทัยศึกษาภาษาเยอรมันและภาษาฝรั่งเศส โดยทรงศึกษากับครูไทย ที่ทรงรู้จักมักคุ้นกัน โดยครูได้มาสอนที่กุฏิในเวลาค่ำบ้าง กลางคืนบ้าง วันละชั่วโมงสองชั่วโมงสุดแต่จะสะดวก ทรงเรียนต่อเนื่องมานานพอควรจนทรงสามารถอ่าน เขียนได้พอสมควร แต่ในที่สุดก็เลิกลาไป เพราะเวลาไม่อำนวย ทั้งฝ่ายผู้สอนและฝ่ายผู้เรียน

    และในระยะใกล้กันนี้ มีผู้รู้ภาษาจีนมาอุปสมบทเป็นพระนวกะ (พระใหม่) อยู่ใน ความปกครองของพระองค์ เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ก็ทรงถือโอกาสเรียนภาษาจีนกับท่านผู้นั้นด้วย แม้พระนวกะนั้นลาสิกขาไปแล้ว ก็ยังมาสอนภาษาจีนถวาย แต่ครูภาษาจีนได้ถึงแก่กรรมในเวลา ต่อมาไม่นาน การเรียนภาษาจีนจึงเป็นอันยุติ เมื่อทรงเล่าถึงการเรียนภาษาจีน ของพระองค์ก็ทรงเล่าอย่างขบขันว่า เรียนจนครูตายเลยต้องเลิก

    นอกจากความสนพระทัยในการเรียนภาษาต่าง ๆ แล้ว เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ยังไฝ่พระทัยในการแสวงหา ความรู้อยู่เสมอ วิธีการแสวงหาความรู้ของพระองค์ก็คือการอ่านหนังสือ ทรงอ่านทั้งหนังสือภาษาไทยและหนังสือภาษาอังกฤษ และมิได้ทรงจำกัดการอ่านเฉพาะหนังสือ ทางพระพุทธศาสนาเท่านั้น แต่รวมทั้งหนังสือที่เป็นความรู้ทั่วไป ๆ ไปด้วย

    ชีวิตในมัชฌิมวัยของเจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ นั้น กล่าวได้ว่า เป็นช่วงเวลาของการเรียน และการ แสวงหาความรู้



    สมณศักดิ์
    พ.ศ.๒๔๙๐ พระชนมายุได้ ๓๔ พรรษา เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะ ชั้นสามัญที่ พระโศภนคณาภรณ์ (มีความหมายว่าผู้เป็นอาภรณ์ หรือเครื่องประดับของหมู่คณะอันงาม) ซึ่งเป็นราชทินนามา ที่ตั้งขึ้นใหม่สำหรับพระราชทาน แก่เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ เป็นรูปแรก

    พ.ศ.๒๔๙๕ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราชในราชทินนามเดิม

    พ.ศ.๒๔๙๘ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพในราชทินนามเดิม

    พ.ศ.๒๔๙๙ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมในราชทินนามที่ พระธรรมวราภรณ์ (มีความหมายว่า ผู้มีธรรมเป็นอาภรณ์คือเครื่องประดับอันประเสริฐ) ซึ่งเป็นราชทินนามที่ตั้งขึ้นใหม่สำหรับพระราชทาน แก่เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ เป็นรูปแรกเช่นกัน

    พ.ศ.๒๕๐๔ ได้รับพระราชทานสถาปนาเป็นราชาคณะชั้นเจ้าคณะรอง (คือรองเจ้าคณะใหญ่ หรือรองสมเด็จพระราชาคณะ) ที่ พระสาสนโสภณ (มีความหมายว่า ผู้งามในพระศาสนา หรือผู้ยัง พระศาสนาให้งาม)

    พ.ศ.๒๕๑๕ ได้รับพระราชทานสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระญาณสังวร (มีความหมายว่า ผู้สำรวมในญาณคือความรู้) ซึ่งเป็นราชทินนามที่พระบาทสมเด็จ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ ทรงโปรดให้ตั้งขึ้นใหม่สำหรับพระราชทานสถาปนา พระญาณสังวร (สุก) พระราชาคณะฝ่ายวิปัสสนาเป็นสมเด็จพระราชา คณะเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ.๒๓๕๙ ตำแหน่งสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระญาณสังวร จึงเป็นตำแหน่งพิเศษ ที่โปรดพระราชทานสถาปนาแก่พระเถระผู้ทรงคุณทางวิปัสสนาธุระเท่านั้น ฉะนั้น นับแต่สมเด็จพระญาณสังวร (สุก) ได้รับพระราชทานสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช เมื่อ พ.ศ.๒๓๖๓ แล้วตำแหน่งที่สมเด็จพระญาณสังวรก็ไม่ทรงโปรด พระราชทานสถาปนาแก่พระเถระรูปใดอีกเลย กระทั่ง พ.ศ. ๒๕๑๕ นับเป็นเวลา ๑๕๒ ปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน จึงทรงโปรดให้สถาปนาเจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ในตำแหน่งที่สมเด็จพระญาณสังวร เป็นรูปที่ ๒ อันเป็นการแสดงให้เป็นที่ปรากฏว่า เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ทรงเป็นพระเถระผู้ทรงคุณทาง วิปัสสนาธุระที่สมควรแก่ราชทินนามตำแหน่งนี้

    พ.ศ.๒๕๓๒ ได้รับพระราชทานสถานาขึ้นเป็น สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ในราชทินนามเดิมคือ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช แทนราชทินนามสำหรับตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชที่ถือเป็นพระเพณีปฏิบัติกันมาคือ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ ทั้งนี้ก็เพื่อให้พระเกียรติคุณทางวิปัสสนาธุระของเจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ยังเป็นที่ปรากฏอยู่สืบไป แม้เมื่อทรงได้รับพระราชทานสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชแล้ว

    เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์แรกที่มิได้ทรงเป็นพระบรมวงศานุวงศ์ แต่ทรงได้รับพระราชทานสถาปนาในราชทินนามพิเศษ ต่างไปจากสมเด็จ พระสังฆราชพระองค์อื่น ๆ ที่ล้วนได้รับพระราชทาน สถาปนาในราชทินนามสำหรับตำแหน่งคือ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ ทุกพระองค์ (สำหรับสมเด็จพระสังฆราชที่เป็นพระบรมวงศานุวงศ์นั้น มีพระนามเฉพาะ ๆ แต่ละพระองค์ไป)

    ชีวิตในมัชฌิมวัยของเจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ นั้น เป็นช่วงชีวิตแห่งการทำงานและสร้างผลงาน ซึ่งอาจประมวลกล่าว ได้เป็นด้าน ๆ คือ ด้านการศึกษา ด้านการปกครอง ด้านการสั่งสอนเผยแผ่ ด้านการก่อสร้างปฏิสังขรณ์ และด้านการ สาธารณสงเคราะห์

    คุณ: GRLpGpAG วันอังคาร ที่ 29 ตุลาคม 2556 ตอน 16:12 น.แจ้งลบ

ท่านสามารถร่วมไว้อาลัยให้กับผู้เสียชีวิตได้ที่นี่

ชื่อของท่าน *

อีเมลล์ของท่าน

คำไว้อาลัย *


(เฉพาะสมาชิกเท่านั้น จึงจะสามารถแนบรูปคู่กับคำไว้อาลัยได้)


กรุณากรอกตัวอักษรที่ปรากฏ *

เงื่อนไขการร่วมไว้อาลัย

ข้อความไว้อาลัยทั้งหมด เกิดจากการเขียนโดยสาธารชน และทำการส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ ทาง mesati.com ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้ไว้อาลัยที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้ร่วมไว้อาลัยท่านอื่นจึงควรใช้วิจารญาณในการอ่านคำไว้อาลัย ถ้าหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฏหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อผู้เสียชีวิต หรือ ญาติมิตรของผู้เสียชีวิต กรุณาส่ง email มาที่ suppport@mesati.com เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้นออกจากระบบ ขอขอบพระคุณผู้ใช้บริการ mesati.com ทุกท่าน ณ โอกาสนี้

ตะกร้าสินค้า

ไม่มีพวงหรีดในตระกร้าของท่าน

อัลบั้มงานศพ


ยังไม่มีอัลบั้มในงานศพนี้
เพิ่มเพื่อน
  • เว็บในเครือ



มีสติบนสื่อไทย