ข้อมูลงานศพ
-
งานศพ
“อาจารย์อมร ศรีวงศ์” ผู้ให้กำเนิดตำนาน “ตึกกลม”
“อมร ศรีวงศ์” ชื่อนี้อาจไม่ได้เป็นที่รู้จักนักในหมู่คนรุ่นใหม่ แต่หากย้อนกลับไปเมื่อ ๖๐ กว่าปีที่แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวงการสถาปัตยกรรมของเมืองไทย จะมีสักกี่คนกันที่ไม่รู้จัก ผู้เขียนเองเมื่อแรกได้ยินชื่อก็ให้สงสัยว่าท่านผู้นี้คือใคร จนเมื่อได้ทราบความก็บังเกิดความนิยมชื่นชม และหวังจะได้สนทนา รับฟังข้อคิด ความรู้ ตามประสาผู้น้อยที่หวังจะได้ความเมตตาจากผู้อาวุโสกว่า
ท่านผู้นี้คือสถาปนิกอาวุโสผู้ออกแบบอาคารเรียนรวมของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล หรือที่เรียกกันจนคุ้นว่า “ตึกกลม” ด้วยความที่มีรูปร่างลักษณะที่แปลกตา โดดเด่นเป็นสง่าท่ามกลางสวนป่าในกลางกรุงเทพมหานคร หากมองจากที่ไกลๆ จะคล้ายยานอวกาศจอดอยู่ บางครั้งจึงมีคนเรียกว่า ตึกจานบิน หรือบางคนยังเรียกว่า ตึกหมวกจีนหรือตึกหมวกเจ๊ก ก็มี เพราะหากจะดูให้เหมือนหมวกที่ชาวจีนสมัยก่อนชอบใส่กันก็ย่อมได้
คุณ: admin วันจันทร์ ที่ 18 พฤศจิกายน 2555 ตอน 19:08 น.แจ้งลบ
-
งานศพ
อาคารหลังนี้เป็นเหมือนลายเซ็นที่โดดเด่นของ “อาจารย์อมร” ภายหลังเมื่อตึกกลมเสร็จสมบูรณ์ ท่านก็ได้ออกแบบอาคารเรียนรวมที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันอีกหลังหนึ่งที่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ที่ชาว มอ.เรียกขานกันว่า “ตึกฟักทอง”
อาจารย์อมรเริ่มต้นชีวิตการเป็นสถาปนิกจากการเปิดสำนักงานเล็กๆ แถวสะพานควาย รับงานออกแบบอาคารขนาดเล็กประเภทที่พักอาศัย จนได้รับการยอมรับจากบรรดาเจ้าของอาคาร จากนั้นจึงไต่ระดับสู่การออกแบบอาคารขนาดใหญ่ ซึ่งทำให้ชื่อเสียงของอาจารย์อมรเป็นที่รู้จักในวงกว้าง มีผู้ให้ความสนใจต้องการให้อาจารย์อมรออกแบบอาคารให้เป็นจำนวนมาก จากผลงานที่สวยงาม ราคาเหมาะสม เสร็จตามกำหนดเวลา อาจารย์อมรได้เคยให้สัมภาษณ์ไว้ว่า เคล็ดลับการออกแบบอาคารให้สวยงาม นอกจากจะต้องให้ความสำคัญกับสัดส่วน การใช้สี การเลือกพื้นผิววัสดุ ฯลฯ ซึ่งเป็นพื้นฐานด้านองค์ประกอบศิลปะที่สถาปนิกทุกคนต้องมีความชำนาญแล้วนั้น ความรู้ด้านโครงสร้างก็มีส่วนสำคัญที่ช่วยให้อาคารแลดูงดงาม โดยไม่ต้องพึ่งพาวัสดุราคาแพง
ความยึดมั่นในคุณธรรมของจรรยาบรรณการประกอบวิชาชีพของอาจารย์อมรก็เป็นที่ชื่นชม ท่านจะไม่ยอมรับค่าคอมมิชชั่นจากการใช้วัสดุ ไม่รับสินน้ำใจจากผู้รับเหมาเวลาตรวจงาน ซึ่งเหล่านี้ช่วยให้ค่าก่อสร้างอาคารลดลงทั้งสิ้น ในส่วนการทำงานที่ตรงต่อกำหนดเวลานั้น เป็นเพราะท่านจะคำนวณราคาวัสดุอย่างละเอียดขณะทำการออกแบบ เมื่อเขียนแบบเสร็จแล้วก็สามารถส่งงานได้โดยไม่ต้องแก้ไขหลายครั้งเพราะปัญหาจากการออกแบบที่เกินงบประมาณนั่นเองคุณ: admin วันจันทร์ ที่ 18 พฤศจิกายน 2555 ตอน 19:10 น.แจ้งลบ