(เครดิตรูป ในภาพ)
Michael Kors Outlet
การแต่งกายของคนไทยที่ไปงานศพ ยังไม่พบหลักฐานว่าในสมัยโบราณกำหนดไว้อย่างไร ขนบประเพณีแต่ละท้องถิ่นก็ต่างกัน เช่นทางภาคอีสาน ถ้าผู้ตายเป็นคนมีอายุเป็นที่เคารพนับถือ คนที่ไว้ทุกข์ให้ต้องโกนหัวนุ่งขาว ถ้าผู้ตายเป็นลูกหลานมีอายุน้อยก็ไม่ต้องไว้ทุกข์ ความจริงคนแต่ก่อนก็ไม่ได้นุ่งห่มสีฉูดฉาดอะไร ส่วนมากก็เป็นสีคล้ำ เคยเห็นคนไปงานศพตามชนบทเมื่อ 50 – 60 ปีมาแล้วก็แต่งกันตามธรรมดา มีอย่างไรก็แต่งอย่างนั้น เพราะเสื้อผ้าไม่ได้มีมากชุด ในหนังสือ “บันทึกเรื่องความรู้ต่างๆ” สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาริศรานุวัดติวงศ์ ทรงบันทึกไว้ตอนหนึ่งว่า “เรื่องไว้ทุกข์ของเรา เป็นเรื่องสับปลับยากใจเป็นที่สุด เอาอะไรแน่ไม่ได้เลย ถ้าสังเกตก็แบ่งได้เป็นสองทาง คือไว้เฉพาะแต่ไปเข้างานศพทางหนึ่ง กับไว้ประจำวันอีกทางหนึ่ง การไว้ไปเข้างานศพก็คือนุ่งขาวนุ่งดำ เข้าใจว่าเราจำเขามา นุ่งขาวพูดกันว่าเอาอย่างจีน แต่ถามพวกจีนเขาก็ว่า เขาไม่ได้นุ่งขาว ตกลงจะมาแต่ไหนก็ไม่ทราบ แต่นุ่งดำนั้นจำฝรั่งมาแน่ และเป็นแน่ว่าเกิดขึ้นในรัชกาลที่ 5 ด้วย ที่นุ่งสีกุหร่า สีนกพิราบ และสีน้ำเงินอะไรเหล่านี้ เชื่อว่าเป็นของเราคิดขึ้นเอง เพื่อจะเดินให้เป็นสายกลาง แต่ฉันไม่เล่นด้วย เห็นว่าแต่งขาว แต่งดำเท่านั้นก็ลำบากพออยู่แล้ว ไฉนจะไปรับเอาอย่างอื่นมาพอกให้ลำบากยิ่งขึ้นอีกเล่า เดิมทีเราเห็นจะไม่ได้แต่งไว้ทุกข์กัน เพราะเคยเห็นพระเมรุใหญ่ๆ แต่ก่อนมา นุ่งสมปักลายสีต่างๆ คาดเสื้อครุยกันทั้งนั้น” หากย้อนกลับไปในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 การแต่งกายไปงานศพที่เหมาะสมนั้น ไม่ได้จำกัดอยู่แต่เพียงการใส่ชุดสีดำอย่างเดียว แต่ยังสามารถใส่ชุดสีม่วง สีน้ำเงินและสีขาวได้อีกด้วย โดยที่ไม่มีใครว่าคุณว่าเป็นคนไม่รู้จักกาละเทศะ แต่ก็ไม่ได้แปลว่าผู้ที่จะไปงานศพสามารถเลือกสีของเสื้อผ้าได้ตามใจชอบ เพราะแต่ละสีก็มีความหมายที่แสดงถึงฐานะหรือความสัมพันธ์ของตนเองกับผู้ตายที่แตกต่างกันไป โดยมีความหมายดังนี้
สีดำ สำหรับ ผู้ใหญ่หรือผู้ที่มีอายุแก่กว่าผู้ตาย สีขาว สำหรับ ผู้เยาว์หรือผู้ที่มีอายุอ่อนกว่าผุ้ตาย สีม่วงหรือสีน้ำเงินแก่ สำหรับ ผู้ที่ไม่ได้เป็นญาติเกี่ยวดองกับผู้ตายแต่ประการใด
ดังนั้น การแต่งกายตามหลักดังกล่าวข้างตน จะทำให้ในงานศพพอแยกแยะได้ว่าใครมีความสัมพันธ์อย่างไรกับใครจากการแต่งกาย เพราะผู้ที่แต่งตัวไปงานจะต้องรู้เรื่องราวเกี่ยวข้องกับตัวเองโดยถูกต้อง จึงจะแต่งสีให้ถูกได้ และถ้าผู้ใดแต่งกายด้วยสีใดแล้วแต่ไม่สามารถอธิบายได้ถึงเหตุผลที่ใส่สีนั้นๆ ก็มักจะถูกดูหมิ่นว่า เป็นผู้ไม่รู้แม้แต่เลือดเนื้อเชื้อไขของตัวเอง หนังสือประเพณีเนื่องในการเกิดและประเพณีเนื่องในการตาย ของเสถียร โกเศศ กล่าวไว้ว่าคนไทยนุ่งทั้งสีขาวสีดำ และสีอื่น ๆ ไปงานศพเพิ่งจะนิยมเฉพาะสีดำในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงครามนี่เอง ต้นเหตุของการแต่งดำที่แท้จริงนั้นน่าจะเป็นความเชื่อที่เกิดจากความกลัวที่มีอยู่ในตัวมนุษย์มานานแล้ว เพียงแต่มนุษย์แต่ละชาติแต่ละเผ่าพันธุ์และแต่ละยุคมีวิธีจัดการกับความกลัวนี้อย่างไร ความกลัวที่ว่าคือ กลัวภูตผีวิญญาณของคนตายจะกลับมาและหาร่างอยู่
พิธีศพของฝรั่งที่มีการจุดเทียนไว้รอบร่างผู้ตาย เพราะเชื่อว่าแสงเทียนจะทำให้วิญญาณตกใจไม่กล้าเข้าร่าง ด้วยเชื่อว่าในโลกของภูตผีวิญญาณนั้นไม่มีแสง มีแต่ความมืดมิดตลอดกาล เมื่อภูตผีเจอแสงเข้าจึงกลัว ดังนั้นเมื่อเข้าร่างคนตายไม่ได้ก็อาจจะเข้าร่างคนเป็นก็ได้ !
ด้วยความกลัวว่าวิญญาณจะเข้าสิงเอาขณะเผลอ คนเป็นจึงต้องทำตัวให้ต่างไปจากเดิม ด้วยการทาสีร่างกายหรือแต่งกายด้วยเครื่องแต่งกายแปลก ๆ บางชุมชน ญาติผู้ตายที่ใกล้ชิดที่สุดจะเอาเสื้อผ้าของผู้ตายมาสวมอยู่หลายอาทิตย์หรืออาจจะหลายเดือนผู้ชายทางภาคอีสานของบ้านเราที่กลัวโรคไหลตายใช้วิธีทาเล็บด้วยสีแดงให้เหล่าภูตผีเข้าใจว่าเป็นผู้หญิงจะได้ไม่เอาตัวไป
ผ้าสีดำที่มักเห็นหญิงม่ายฝรั่งแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนคลุมหน้าในงานศพนั้นก็ด้วยเหตุผลเดียวกันคือ กลัววิญญาณสามีจะจำได้ โดยเธอจะคลุมหน้าและแต่งดำไว้ทุกข์อยู่ ๑ ปีเต็ม
ทำไมต้องสีดำ ? นักโบราณคดีฝรั่งสันนิษฐานว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องของผิว เพราะคนผิวขาวยุคแรกทาตัวด้วยสีดำในงานศพเพื่อแยกความแตกต่างระหว่างคนกับวิญญาณ ทำนองเดียวกันคนแอฟริกันผิวดำบางเผ่าที่ทาตัวด้วยสีขาวให้ตรงข้ามกับสีผิวธรรมชาติที่มีอยู่ เป็นการเลี่ยงไม่ให้วิญญาณเห็นและเข้าสิง แม้ในศตวรรษนี้ก็ยังคงพอเห็นการปฏิบัติเช่นนี้ของคนผิวดำ ส่วนคนผิวขาวเปลี่ยนจากการทาสีตามตัวมาเป็นสวมเสื้อผ้าสีดำแทน
แนวคิดเรื่องชุดดำของคนไทยน่าจะมาจากทางตะวันตกนี้ด้วย เพราะงานศพสมัยก่อนของคนไทยค่อนข้างจะครื้นเครงของเสื้อผ้าที่สวมก็ไม่ได้เคร่งครัดเจาะจงว่าจะเป็นขาวล้วนดำล้วนทั้งยังมีมหรสพการละเล่นยามค่ำคืนอีก เป็นความแตกต่างทางวัฒนธรรมประเพณีที่ฝรั่งเห็นเข้าเมื่อไรเป็นงงเมื่อนั้น
Credit : sanook! กูรู
www.michaelkorsonlineoutlet.com |