ดร.สอาด ปียวรรณ
นายกสมาคมชาวเหนือ ประจำปี พ.ศ. 2511-2518
ประวัติส่วนตัว
บุตร คุณพ่อคำสุก คุณแม่จันทร์ทิพย์ ปียวรรณ ซึ่งเป็นครอบครัวชาวนาโดยกำเนิด
เกิด 24 ธันวาคม 2494 บ้านเอื้อม หมู่ที่ 1 ต. บ้านเอื้อม อ. เมือง จ. ลำปาง
สถานภาพ ได้สมรสกับคุณพรรณี ชัยบาล ที่จังหวัดลำปาง เมื่อ พ.ศ. 2492 (ปัจจุบันได้รับ
พระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม เป็น คุณหญิงพรรณี ปียวรรณ เมื่อวันที่ 5
พฤษภาคม 2540) มีบุตรธิดา 3 คน
คนที่ 1 นางองุ่น ธเนศวร เรียนจบปริญญาโทที่สหรัฐอเมริกาและได้สมรสกับ ดร.ทิวา ธเนศวร
ซึ่งเป็นอดีตประธานสภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทย
คนที่ 2 พล.อ.ดร. พงษ์สุระ ปียวรรณ ทำงานที่กรมการเงินกลาโหม และสมรสกับ ผศ. พลพธู
ปียวรรณ อาจารย์สอนที่จุฬาลกรณ์มหาวิทยาลัย
คนที่ 3 ดร. เย็นจิตต์ บุษปะบุตร เรียนจบปริญญาเอกจากสหรัฐอเมริกาและสมรสกับ พล.ต.ต.
วุฒิชัย บุษปะบุตร ผู้กำกับฝ่ายทะเบียนและจรรยาบรรณ สถาบันส่งเสริมงานสอบสวน
กองบัญชาการศึกษา สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
การศึกษา
จบชั้นประถมศึกษา จาก โรงเรียนวัดบ้านเอื้อม ต. บ้านเอื้อม อ. เมือง จ. ลำปาง
จบชั้นมัธยมศึกษา จาก โรงเรียนประจำจังหวัดบุญวาทย์วิทยาลัย อ. เมือง จ. ลำปาง
ปริญญาตรีนิติศาสตร์บัณฑิต (น.บ.) จาก มหาวิทยาลัยศรีปทุม
ปริญญาตรีรัฐศาสตร์บัณฑิต (ร.บ.) จาก มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ปริญญาตรีเศรษฐศาสตร์บัณฑิต จาก สหรัฐอเมริกา
ปริญญาโทรัฐศาสตร์และการเมือง จาก สหรัฐอเมริกา
ปริญญาเอกรัฐศาสตร์และการเมือง จาก สหรัฐอเมริกา
ปริญญาเอกกิตติมศักดิ์ สาขาพาณิชยศาสตร์ จาก สหรัฐอเมริกา
ปริญญาเอกกิตติมศักดิ์ สาขาบริหารศาสตร์ จาก ประเทศฟิลิปปินส์
การเมือง
อดีตสมาชิกและกรรมการพรรคสหภูมิ ในปี พ.ศ. 2500
อดีตสมาชิกสภาจังหวัดเขตอำเภอเมืองลำปาง 2 สมัย พ.ศ. 2494-2502
อดีตเลขาธิการพรรคแรงงาน พ.ศ. 2517-2519
อดีตประธานคณะกรรมการเปิดเผยรายงานการประชุมลับสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2518-2519
อดีตที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี 2 รัฐบาล คือ
1. ฯพณฯ พลตรี ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ปี พ.ศ. 2518-2519
2. ฯพณฯ พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ปี พ.ศ. 2531-2533
ประธานชมรม ส.ส. กลุ่มตาสิบ พ.ศ. 2518-2519
อดีตเลขานุการคณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. 2519
อดีตเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พ.ศ. 2522
อดีตสมาชิกสภาปฏิรูป พ.ศ. 2520-2521
อดีตรองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 พ.ศ. 2522-2526
อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม พ.ศ. 2529-2531
อดีตประธานที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ฝ่ายการเมืองและการบริหาร พ.ศ. 2531-2532
อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2533-2534
อดีตรองหัวหน้าพรรคชาติไทย พ.ศ. 2522-2534
อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำปาง พ.ศ. 2518-2534 รวม 7 สมัย
อดีตรองหัวหน้าคนที่ 1 พรรคสามัคคีธรรม พ.ศ. 2534-2535
อดีตประธานคณะกรรมการที่ปรึกษา พรรคความหวังใหม่ พ.ศ. 2536-2540
อดีตประธานจัดงานประจำปีศิษย์เก่า มหาวิทยาลัยรามคำแหง ติดต่อกันเป็นเวลาหลายปี
ด้านเศรษฐกิจ
ชีวิตเริ่มต้น ขณะอยู่บ้านเกิดบ้านเอื้อม ต. บ้านเอื้อม อ. เมือง จ. ลำปาง ซึ่งห่างจากศาลากลาง
จังหวัดประมาณ 20 กิโลเมตร ได้ช่วยพ่อแม่ทำมาหากิน เช่น ทำนา ทำไร่ เลี้ยงวัว เลี้ยงควาย และได้เรียน
หนังสือชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
เริ่ม เข้ามาเรียนหนังสือใน อ. เมือง จ. ลำปาง คือ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่โรงเรียนวรรณศาสตร์ศึกษา และได้ย้ายเข้าเรียนต่อ มัธยมศึกษาปีที่ 2 ถึง มัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่โรงเรียนประจำจังหวัดบุญวาทย์
วิทยาลัย ขณะที่เรียนหนังสืออยู่นั้นก็ได้ขายสลากล๊อตเตอรี่เพื่อนำเงินมาใช้เป็นทุนการศึกษาและได้เป็น
หัวหน้าชั้นมาโดยตลอด
ปีสุดท้ายมัธยมศึกษาปีที่ 6 ได้คะแนนมาเป็นที่ 1 คือ 86 เปอร์เซ็นต์
เมื่อจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ได้เริ่มสมัครเป็นครูประชาบาล ขณะที่รอผลการสอบอยู่นั้นก็ได้เช่าสามล้อมาขับเพื่อหารายได้
เมื่อทางราชการได้ประกาศว่าสอบได้แต่ต้องรอบรรจุ ก็ไม่ทราบว่าจะบรรจุเมื่อใดจึงตัดสินใจเลิกที่จะเป็นครู
สุด ท้ายจึงตัดสินใจมาเป็นนักธุรกิจ คือ เริ่มต้นเป็นลูกจ้างขับสามล้อส่งสินค้าที่ หจก. ประชานิยม ซึ่งตั้งอยู่ตรงข้ามไปรษณีย์จังหวัดลำปาง ได้รับค่าจ้างเดือนละ 5 บาท (ห้าบาท) ต่อมาได้เลื่อนเป็นคนทำ
ความสะอาด คนขายสินค้าประจำร้าน สมุห์บัญชี และสุดท้าย คือ ผู้จัดการ หจก. ประชานิยม มาโดยลำดับ ได้รับเงินเดือน ๆ ละ 100 บาท (หนึ่งร้อยบาท) หจก. ประชานิยม อ. เมือง จ. ลำปาง ประกอบธุรกิจ
ทางด้านของชำที่นำมาจากกรุงเทพฯ เช่น กะปิ น้ำปลา ฯลฯ และสินค้าพื้นเมือง เช่น ข้าวเปลือก น้ำตาลแดง ครั่ง และน้ำมันหมู ฯลฯ ในปี พ.ศ. 2486-2492
อดีตผู้อำนวยการ บริษัท ลำปางชัย จำกัด ในปี พ.ศ. 2493 ถึง พ.ศ. 2517 ทำธุรกิจเกี่ยวกับการขายเงินผ่อนสินค้าทุกชนิดโดยให้ผ่อนระยะยาวนานถึง 30 เดือน แห่งเดียวในประเทศไทย โดยมีสำนักงาน
แห่งแรกที่ จ.ลำปาง สินค้าที่ขาย คือ เครื่องสีข้าว เครื่องสูบน้ำ วิทยุ และทองคำ ฯลฯ ต่อมาธุรกิจได้เจริญ
ขึ้นเรื่อย ๆ จึงได้เปิดสาขาเพิ่มขึ้น 43 แห่ง โดยสาขาที่ 43 ตั้งอยู่ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2509 ซึ่ง
ต่อมาได้รับแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนจำหน่ายรถยนต์และรถบรรทุกแต่ผู้เดียวในประเทศไทย เช่น ฮิลแมน
ฮัมเบอร์ ซันบีม และซิงเกอร์ จากประเทศอังกฤษ ซิมคาร์ จากประเทศฝรั่งเศส และไครสเลอร์ จากประเทศ
ออสเตรเลีย รถบรรทุก ยี่ห้อ คอมเมอร์ และแคร์เรีย จากประเทศอังกฤษ ในปี พ.ศ. 2511-2518
หมายเหตุ ได้ลาออกจากตำแหน่งผู้อำนวยการ บริษัท ลำปางชัย จำกัด เมื่อปี พ.ศ. 2517 เพื่อรับใช้
ประเทศชาติในด้านการเมือง โดยสมัครเป็น ส.ส. จังหวัดลำปาง ครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2518
เป็นประธานคณะกรรมการจัดการของสหกรณ์นครเขลางค์จำกัดสินใช้ จ. ลำปาง เมื่อปี พ.ศ.
2490-2493
ด้านสังคม
อดีตนายกสมาคมชาวเหนือ พ.ศ. 2511-2518
อดีตนายกสมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย จังหวัดลำปาง ปี พ.ศ. 2507-2509
อดีตนายกสันนิบาตมูลนิธิแห่งประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518-2533
อดีตนายกกอล์ฟอาวุโสแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2529-2531
ประธานลูกเสือแห่งชาติรุ่นสิงห์ธนบุรี
ประธานวิทยาการ กอ.รมน. รุ่น 14
นายกศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยศรีปทุม
ประธานมูลนิธิชาวเหนือ
ประธานมูลนิธิเจ้าทิพย์ช้าง
ประธานมูลนิธิสุขสอาด ปียวรรณ
เป็น ผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ของประเทศไทย เรื่อง ทิพย์ช้าง ซึ่งได้รับคัดเลือกเป็นภาพยนตร์ดีเด่นอันดับ 1 ของประเทศไทย ต่อมาได้รับเลือกไปประกวดแข่งขันที่ เมืองจาร์การ์ต้า
ประเทศอินโดนีเซีย โดยผู้ส่งภาพยนตร์เข้าประกวดถึง 58 ประเทศ และภาพยนตร์เรื่องช้างทิพย์ ก็ได้รับรางวัลชนะเลิศ จากสมาคมภาพยนตร์ของโลก
เป็นคุณพ่อตัวอย่างในปี พ.ศ. 2529
เป็นศิษย์เก่าดีเด่น ของ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ในปี พ.ศ. 2540
ได้เป็นแขกรับเชิญจากหลาย ๆ ประเทศเพื่อเข้าประชุมในนามของประเทศไทยและบางประเทศ
ก็ได้รับเกียรติเป็นประธานในที่ประชุมเกี่ยวกับกิจการของประเทศ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ดังนี้
ประถมาภรณ์มงกุฎไทย
ประถมาภรณ์ช้างเผือก
มหาปรมาภรณ์มงกุฎไทย
มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก
|